การอุ้มลูกน้อยนั้นส่งผลดีอย่างแน่นอน เพราะว่าจะทำให้เด็กได้รับความอบอุ่นจากอ้อมกอดของคุณแม่ และรู้สึกถึงความปลอดภัยเมื่ออยู่ในอ้อมอก แต่หากลูกเกิดการติดมือ วางลูกลงบนที่นอนแล้วร้องไห้อยากจะให้อุ้มแทบตลอดเวลา หากปัญหานี้เกิดขึ้นบ่อยๆคุณแม่ทั้งหลายก็คงจะปวดหัวอยู่ไม่น้อยที่ลูกร้องให้อยากให้อุ้มตลอดเวลาจนไม่เป็นอันทำอะไรเลย
หากลูกคุณติดมือจนคุณไม่เป็นอันทำอย่างอื่น บทความนี้จะแนะนำ วิธีแก้ ลูกติดมือ ที่จะสามารถทำให้คุณแม่มีเวลาทำอย่างอื่นได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งมีวิธีการดังต่อไปนี้
อย่าให้ลูกหลับคาอกของพ่อแม่
หากลูกคุณมีอาการเคลิ้มๆใกล้จะหลับ ให้วางลูกของคุณลงบนที่นอนในทันทีอย่าปล่อยให้ลูกหลับคาอก หากคุณวางลูกลงบนที่นอนแล้วเขาร้องไห้งอแงอยากให้อุ้มอีกครั้ง ก็ให้คุณตบก้นลูกเบาๆ แล้วใช้มืออีกข้างวางบนอกของลูกคุณ ให้ทำไปเรื่อยๆจนลูกหลับไปเอง
ห่อตัวลูกด้วยผ้าเพิ่มความอบอุ่น
การห่อตัวลูกจะทำให้เขารู้สึกปลอดภัยเหมือนกับอยู่ในท้องแม่เป็นการเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกายลูกของคุณได้ดีมาก ส่วนวิธีการห่อตัวลูก คุณแม่สามารถเรียนรู้จากคุณพยาบาลได้เลย
เตรียมที่นอนให้ลูก
ที่นอนของลูกน้อยไม่ควรที่จะโล่งจนเกินไป คุณควรหาหมอนข้าง หรือนำผ้ามาม้วนๆไว้บนที่นอน การทำแบบนี้จะทำให้เด็กรู้สึกถึงความปลอดภัยมากขึ้น
ใช้เปลไกว
ขณะที่ลูกนอนบนเปลที่มีการแกว่งไกวไปมา ลูกน้อยจะรู้สึกสนุก หรือบางกรณีก็ง่วงจนหลับไป ซึ่งเปลไกวถือว่าเป็นเครื่องทุ่นแรงของคุณแม่แทนการอุ้มได้ดีมาก คุณแม่จะได้มีเวลาในการพักผ่อน หรือทำกิจวัตรส่วนตัวได้มากขึ้นในขณะที่ลูกน้อยกำลังนอนหลับบนเปล
ลูกร้องอยากให้อุ้ม กับร้องโคลิค
เด็กที่ร้องไห้อยากให้อุ้มก็จะร้องงอแงแบบปกติธรรมดา แต่เด็กที่ร้องแบบเป็นโคลิคนั้นจะร้องเสียงสูง หน้าท้องเกร็ง ร้องไห้งอแงไม่หยุดนานเป็นชั่วโมง สามารถพบการร้องโคลิคนี้ได้บ่อยในช่วงเย็นจนถึงหัวค่ำ คุณสามารถแก้ปัญหานี้ได้โดยการอุ้มปลอบจนกว่าจะหยุดร้อง หรือวันว่างๆก็พาลูกทำกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลาย เช่น พาออกไปนั่งรถเล่น อาบน้ำอุ่นให้ลูก เปิดเพลงเบาๆให้ลูกฟัง เป็นต้น
การอุ้มลูกเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างคุณกับลูกน้อย แต่ถ้าหากลูกร้องงอแงบ่อยครั้งและอยากให้อุ้มบ่อยจนเกินไป ลองใช้ วิธีแก้ ลูกติดมือ ที่ได้แนะนำไปก็จะสามารถทำให้ลูกน้อยของคุณลดการติดมือลงได้