เมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ เราก็จะคิดถึง “ถังดับเพลิง” ที่ควรมีไว้ติดบ้าน และโรงงาน เพื่อใช้ดับไฟในเบื้องต้นได้ แต่ถังดับเพลิงนั้นมีหลายประเภท ควรทำความเข้าใจก่อนที่จะซื้อมาจะได้ใช้งานได้เหมาะสม คุ้มค่ากับเงินที่เสียไป
ทำความรู้จักถังดับเพลิง
เป็นอุปกรณ์ดับเพลิงแบบเคลื่อนที่ ประกอบด้วยถังแรงดัน ซึ่งบรรจุน้ำหรือสารเคมีซึ่งบรรจุอยู่ในถังมีด้วยกันหลายชนิด อาทิ ผงเคมีแห้ง, คาร์บอนไดออกไซค์ ,โฟม หรือเคมีสูตรน้ำ และที่ฉลากข้างตัวถัง จะระบุประเภท A,B,C,D หรือ K ซึ่งหมายถึงความสามารถในการดับไฟอะไรได้บ้าง เช่น
- ประเภท A เพลิงไหม้ที่เกิดจากเชื้อเพลิงของแข็ง เช่น ไม้ ผ้า กระดาษ ยาง พลาสติก เป็นต้น
- ประเภท B เพลิงไหม้ในของเหลวติดไฟและก๊าซติดไฟ เช่น น้ำมัน ทินเนอร์ ก๊าซหุงต้ม จาระบี
- ประเภท C เพลิงไหม้ที่เกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้าและมีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร
- ประเภท D เพลิงไหม้ที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาของโลหะ
- ประเภท K เพลิงไหม้ที่เกิดจากน้ำมันที่ใช้ประกอบอาหารและไขมันสัตว์
ประเภทของ ไฟถังดับเพลิง
1.ถังชนิดผงเคมีแห้ง ส่วนใหญ่เป็นสีแดง สามารถดับไฟได้เกือบทุกประเภท มีราคาไม่แพง แต่ก็มีข้อด้อยคือเมื่อฉีดออกมาจะฟุ้งกระจาย ทิ้งคราบเปื้อนเหมือนผงแป้งสีขาว และเมื่อฉีดแล้วไม่หมด ไม่สามารถใช้งานได้อีก ต้องส่งบรรจุใหม่
2.ถังชนิดผงเคมีสูตรน้ำ (Halotron) สีเขียวๆ เมื่อฉีดแล้วจะระเหยไปเอง ไม่ทิ้งคราบสกปรก สามารถดับไฟได้ทุกประเภท A,B,C เหมาะกับการใช้งานในห้องที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆ
3.ถังชนิดที่บรรจุสารฮาโลตรอน หรือน้ำยาที่มีชื่อว่า “ABFFC” ไม่เป็นสื่อนำไฟฟ้า สามารถดับไฟได้ทุกประเภท เหมาะกับใช้งานในบ้าน หากมีการใช้งานแล้ว แต่ยังไม่หมด สามารถใช้งานต่อจนหมดได้ ตัวถังมีหลายสี ขึ้นอยู่กับผู้ผลิต
4.ถังชนิดบรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ มีสีแดง ปลายกระบอกฉีดจะใหญ่เป็นพิเศษ เมื่อฉีดออกมาจะมีไอเย็นจัด คล้ายน้ำแข็งแห้ง ช่วยลดความร้อนของไฟไหม้ได้ ไม่ทิ้งคราบสปรก สามารถดับไฟปรเภท B ,C ได้ เหมาะกับห้องที่มีเครื่องจักรกลต่างๆ
5.ถังชนิดบรรจุโฟม เมื่อฉีดออกมาจะเป็นฟองโฟมคลุมผิวเชื้อเพลิงที่ลุกไหม้ จึงสามารถดับไฟประเภท A,B แต่ไม่สามารถดับไฟประเภท C ได้ เพราะเป็นสื่อนำไฟฟ้า เหมาะสำหรับใช้ดับเชื้อเพลิงพวกทินเนอร์ และสารละเหยติดไฟ
คราวนี้เราก็รู้จักประเภทของถังดับเพลิงกันแล้ว หากต้องการซื้อมาใช้งานจะได้เลือกได้เหมาะสม จะช่วยดับเพลิงและชะลอการลุกลามของไฟได้ ความเสียหายก็จะเกิดน้อยคะ